วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์ในการเขียนบล็อก


         “ สวัสดีค่ะ บล็อกนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2559 วัตถุประสงค์ในการเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาก็เพื่อเป็นการให้ทุกคนทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น วิธีการเลือกสมาชิกผู้แทนในแต่ละพรรคว่ามีวิธีการหรือขั้นตอนอย่างไรบ้าง ในปี 2559 นี้ ท้าชิงประธานาธิบดีที่เด่นๆก็จะมีด้วยกันอยู่ 2 คนนั่นก็คือ ตัวแทนพรรคริพับลิกัน คือนายโดนัลด์ ทรัมป์ และตัวแทนของพรรคเดโมแครต คือนางฮิลลารี คลินตัน โดยบล็อกของฉันนี้ก็จะรวบรวมประวัติของทั้ง 2 คนไว้พอสังเขป และคนที่ได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาก็คือนายโดนัลด์ ทรัมป์ บล็อกของฉันนี้ก็ได้รวบรวมบทความต่างๆที่น่าสนใจในหลายๆเว็บ เช่น นโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี เป็นต้น ดิฉันหวังว่าบล็อกนี้จะให้ความรู้หรือความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทำเนียบขาว


ทำเนียบขาว


ทำเนียบขาว หรือ ชื่อในภาษาอังกฤษ “White House” คือบ้านพักอย่างเป็นทางการและเป็นสถานที่ทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หลังๆได้กลายมาเป็นที่อยู่อาศัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนนับตั้งแต่ ประธานาธิบดี จอห์น แอดัม ทำเนียบขาวได้มีประวัติมากมาย การต่อเติม การปรับปรุงทำเนียบเป็นต้น เมื่อแรกๆไม่ได้ชื่อทำเนียบขอว หรือ write house อย่างปัจจุบัน  ปีค.ศ.1814 ที่พักของประธานาธิบดีสหรัฐถูกลอบวางเพลิง จึงซ่อมแซมด้วยการทาสีขาวเพื่อปิดรอยที่เกิดจากไฟไหม้และเปลี่ยนชื่อเป็น ทำเนียบขาว ทุกวันนี้ก็เลยได้ชื่อทำเนียบขาวนั่นเอง

เกร็ดความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่น่าสนใจ

เกร็ดความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่น่าสนใจ
 ชาวอเมริกันในเขต Territories
ผู้ที่อาศัยอยู่ใน Territories หรือ เขตอาณาเขตปกครองของสหรัฐฯ (หมู่เกาะอเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เปอร์โตริโกและหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกาจะไม่มีสิทธิในการเลือกตั้งเพราะเขตดังกล่าวไม่จัดเป็นรัฐของสหรัฐฯ จึงพูดได้ว่าเกาะเหล่านี้ถือเป็นแห่งเดียวในจักรวาลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง นั่นเป็นเพราะแม้แต่ประชาชนสหรัฐฯ ที่อยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ในอวกาศก็ยังสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งของตนโดยใช้ไปรษณีย์หรือจากอวกาศได้
 Popular Vote vs. Electoral Vote
Popular vote คือคะแนนที่นับจากคะแนนเสียงของประชาชนจริงๆ ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่สามารถแสดงให้เห็นว่าความนิยมของประชาชนที่แท้จริงเป็นอย่างไร เช่น ในการเลือกตั้ง 2012 โอบามาได้รับ303  Electoral Vote และรอมนี่ได้รับ 206  Electoral Vote ซึ่งดูเหมือนจะห่างกันมาก แต่่คะแนน Popular vote ค่อนข้างใกล้เคียง คือ 50.4% และ 48% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วประชาชนอีกเกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่สนับสนุนโอบามา
 ช้าง vs. ลา

ทำไมสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง Democrat และ Republican ถึงต้องเป็นช้างกับลา? ที่มาของเรื่องนี้มาจากในสมัยที่ Andrew Jacksonลงสมัครรับเลือกตั้งโดยใช้สโลแกนว่า Let’s the people rule ทำให้พวกนักหนังสือพิมพ์เปรียบเขาเหมือนกับลา ซึ่ง Andrew กลับชอบฉายานี้และนำเอาสัญลักษณ์รูปลาในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งต่อมานักหนังสือพิมพ์ชื่อว่า Thomas Nast ได้นำเอาสัญลักษณ์รูปลามาเป็นสัญลักษณ์ของ พรรค Democrat ส่วนสัญลักษณ์รูปช้างเกิดมาจากการที่นาย Thomas วาดการ์ตูนล้อเลียน โดยใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ของพรรค Republican ซึ่งก็ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการของพรรคในเวลาต่อมา

อธิบายระบบการเลือกตั้งของสหรัฐฯ

อธิบายระบบการเลือกตั้งของสหรัฐฯ


ทุกๆ 4 ปี ประชาชนชาวอเมริกามีหน้าที่ที่สำคัญในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนต่อไปของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกานั้นซับซ้อนกว่าของประเทศอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ประชากรทุกคนของประเทศสามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ต้องการเพื่อเป็นประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง แต่การเลือกตั้งประธานธิบดีของ สหรัฐฯ  เป็นการออกเสียงทางอ้อม โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. เริ่มต้นจากในแต่ละรัฐจะมีการจัดการเลือกตั้งย่อยเพื่อหาตัวแทนของพรรคเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
 2. ในแต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งจะเป็นตัวแทนในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีแทนประชาชนในรัฐนั้นๆ โดยจำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐจะมาจากตัวแทนตามจำนวนของเขตการปกของ (district) ของแต่ละรัฐ และ คณะวุฒิสภาอีก 2 คน เช่น มลรัฐแคลิฟอร์เนียมี 53 เขตการปกครอง คณะผู้เลือกตั้งของมลรัฐแคลิฟอร์เนียจึงมี 55 คน (53 + 2) คณะผู้เลือกตั้งจากทุกรัฐรวมทั้งสิ้น 538 คน (มาจากตัวแทนตามจำนวนเขตการปกครอง 438 คน + วุฒิสภา 100 คน)
3. เมื่อมาถึงวันอังคารแรกหลังจากวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกๆ 4 ปี ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็จะไปที่ศูนย์เลือกตั้งเพื่อเลือกผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีที่ตนชอบ เช่น ในการเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมานี้ ประชาชนสามารถเลือก บารัค โอบามา   มิตต์ รอมนีย์ และผู้สมัครจากพรรคเล็กอื่นๆ อีก 2 ท่าน    
 4. การออกเสียงของประชาชนเป็นการแสดงเจตนาแก่คณะผู้เลือกตั้งในรัฐของตนว่าอยากจะให้คณะผู้เลือกตั้งออกเสียงเลือกตั้งไปในทิศทางใด ในหนึ่งรัฐ ไม่ว่าผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้เสียงมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน เสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นๆ ทั้งหมดก็จะไปที่ผู้ลงสมัครผู้นั้น ดังนั้น รัฐที่มีจำนวนประชากรหรือเขตการปกครองเยอะกว่า ก็จะมีมีจำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งมากกว่า ทำให้รัฐต่างๆ มีความสำคัญต่อผลการเลือกตั้งมากกว่า
 5. เป้าหมายของผู้ลงสมัครในวันเลือกตั้งคือ ผู้สมัครจะต้องได้เสียงจากคณะเลือกตั้งให้ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง(ของ 538 เสียง) หรือ 270 เสียง หากผู้สมัครคนใดได้ 270 เสียงก่อนผู้นั้นก็เป็นผู้ชนะ ทั้งนี้ผลจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน เป็นการคำนวนจากการคำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐที่จะไปยังผู้สมัครคนนั้นๆ  ประชาชนสามารถทราบผลอย่างไม่เป็นทางการหลังจากการเปิดการเลือกตั้งประมาณ 12 ชม. หรือเมื่อมลรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นรัฐสุดท้ายนับคะแนนเสร็จสิ้น     
6. ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือกตั้งของคณะผู้เลือกตั้งและเป็นการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ หรือ National Convention โดยคณะผู้เลือกตั้งจะมารวมตัวกัน เพื่อออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ประชาชนข้างมากในรัฐของตนเลือกไว้ แม้ว่าในประวัติศาสตร์ ยังไม่มีการเลือกตั้งครั้งใดที่ผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะพลิกผันจากผลการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนแต่ก็ควรระลึกไว้เสมอว่า คณะผู้เลือกตั้งมีสิทธิเสรีในเลือกผู้สมัครซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวกันกับที่ประชาชนต้องการหรือไม่ก็ได้

7. และวันที่ 20 มกราคม 2556 หรือ Inauguration Day เป็นวันที่ประธานาธิบดีขึ้นรับตำแหน่งและเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

เปิดสุนทรพจน์แรกของ "โดนัลด์ ทรัมป์" ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา


          หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 45 ออกมาอย่างเป็นทางการว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์เป็นผู้ได้รับตำแหน่งไปครอง โดยนายทรัมป์จะกล่าวแถลงการณ์แรกในฐานะประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ณ ทรัมป์ ทาวเวอร์สถานที่ประกาศชัยชนะของพรรครีพลับลิกันกลางนครนิวยอร์ค ท่ามกลางประชาชนมากมายที่สนับสนุนเขา

          โดยหลังผลคะแนนชี้ชัดว่าพรรครีพลับลิกันได้รับชัยชนะ รองประธานาธิบดีคนใหม่ มาร์ก เพนซ์ได้ปรากฏตัวบนเวทีต่อหน้าผู้สนับสนุนพรรครีพลับลิกันในเวลาต่อมา และกล่าวว่าค่ำคืนนี้เป็น ค่ำคืนแห่งประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้เลือกผู้ชนะคนใหม่ของประเทศ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเต็มไปด้วยความเป็นผู้นำที่จะทำให้สหรัฐฯ กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง โดยตัวเขาเองรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดี
          จากนั้น นายเพนซ์ ได้แนะนำประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาแก่ฝูงชน นายทรัมป์ปรากฏตัวบนเวทีพร้อมภรรยาและลูกๆ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีจากประชาชนผู้สนับสนุน นายทรัมป์จับมือแสดงความยินดีกับนายเพนซ์และครอบครัวเพนซ์ ก่อนกล่าวแถลงการณ์แรกในฐานะประธานาธิบดี



          “ขอบคุณมากๆ ขอบคุณอย่างยิ่ง และขอโทษที่ทำให้รออย่างสับสนต่อผลคะแนน เมื่อครู่นี้ผมได้รับโทรศัพท์จากนางฮิลลารี คลินตัน เธอโทรมาแสดงความยินดีกับชัยชนะนี้ และผมได้แสดงความยินดีต่อเธอเช่นกันที่เธอทำงานหนักมาโดยตลอด เธอได้ทุ่มเทอย่างยิ่งเพื่อประเทศของเรา
          “และในเวลานี้ ไม่ว่าพรรคไหน ก็เป็นเวลาที่เราทั้งประเทศจะมุ่งหน้าไปพร้อมๆ กันในฐานะอเมริกา การที่ผมได้รับตำแหน่งนี้มันสำคัญกับผมอย่างยิ่ง ทั้งนี้ผมได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำมากมายจากทุกคนเพื่อที่จะสร้างประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
          “ซึ่งตลอดเวลาการหาเสียงที่ผ่านมาผมไม่เคยมองว่าเป็นการหาเสียง แต่มองว่ามันคือการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ และจากนี้ผมจะดูแลประชาชนของประเทศให้ดี เราจะทำงานร่วมกัน สร้างชาติ สร้างความฝันของชาวอเมริกัน (American Dream) ให้กลับคืนมา และตอนนี้ผมอยากจะทำเพื่อประเทศจริงๆ เรามีความสามารถที่จะทำได้ และแน่นอนว่าจะไม่มีใครถูกลืมอีกต่อไป เราจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ และสุดท้าย เราจะดูแลเหล่าทหารผ่านศึกเพื่อให้เขารู้ว่าพวกเขาสำคัญกับประเทศเรามากแค่ไหน
          “ทั้งนี้เรามีแผนการทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้ประเทศเติบโตขึ้นเป็นสองเท่า และแม้เราจะเอาอเมริกาเป็นหนึ่ง แต่เราจะยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อต่างประเทศ และจะดีลกับทุกประเทศอย่างยุติธรรม โดยไม่คุกคาม ไม่มีความฝันอะไรใหญ่เกินไปหรอกครับ
          “ผมอยากขอบคุณทุกคนที่ช่วยผมสร้างประวัติศาสตร์นี้ ขอบคุณพ่อแม่ ครอบครัว ภรรยาผม เมลานี และลูกๆ เพื่อนร่วมงาน ทีมของผม...การเมืองเป็นสิ่งที่ทั้งน่ารังเกียจและหนักหนา แต่ผมได้รับการสนับสนุนที่น่าเหลือเชื่ออย่างยิ่ง
          “การเป็นประธานาธิบดีเป็นสิ่งที่ผมภูมิใจอย่างยิ่งที่จะทำผมดีใจที่ได้เป็นประธานาธิบดีของคุณ...และอาจจะได้เป็นถึง 8 ปี (ผู้คนในฮอลล์ส่งเสียงเชียร์) เราจะเริ่มงานทันทีเพื่อประชาชนของเรา และคุณจะภูมิใจประธานาธิบดีของคุณ ภูมิใจในประเทศของคุณอีกครั้ง ผมรักประเทศนี้ ขอบคุณอย่างยิ่งครับ



ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ , www.prachachat.net


อะไร (ที่น่า) จะเกิดขึ้น ถ้า "ทรัมป์" เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของอเมริกา


          จากผลคะแนนเลือกตั้งสหรัฐฯ ล่าสุดตอนนี้ที่มีแนวโน้มว่า โดนัลด์ ทรัมป์ มีสิทธิ์อย่างสูงที่จะชนะศึกเลือกตั้ง คนไทยจำนวนไม่น้อยน่าจะมีคำถามเดียวกันว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้า "ทรัมป์" ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ จริงๆ
          เพื่อไขข้อสงสัยนี้ เลยรวบรวม 5 เรื่องที่น่าจะเกิดขึ้น หากคะแนนเสียงส่วนมากของทุกรัฐเทไปที่เจ้าของประโยคที่ว่า "Today we make America great again!"
          1.ผู้อพยพผิดกฎหมายและมีประวัติอาชญากรรมจะถูกส่งกลับประเทศ
นโยบายของทรัมป์ข้อนี้ฟังดูเหมือนจะสมเหตุสมผล เพราะคนที่ทำผิดกฎหมายและเคยก่ออาชญากรรมก็ควรจะได้รับบทลงโทษตามเหตุปัจจัย โดยมีการประเมินว่าตัวเลขของผู้อพยพที่เข้าข่ายนี้มีอยู่ประมาณ 168,000 คนทั่วประเทศ
          แต่ความไม่สมเหตุสมผลของนโยบายนี้อยู่ตรงที่ตัวเลขในการประเมินของทรัมป์เองนั้นสูงถึง 2 ล้านคน เหตุเพราะคำว่า อาชญากรรม' ของทรัมป์นั้น รวมเอาความผิดลหุโทษอย่างเช่นการขับรถเกินความเร็วที่กำหนดเอาไว้ด้วย
          2.กำแพงกั้นชายแดนระหว่างเม็กซิโกและอเมริกาที่มีช่องโหว่ 75 ไมล์
          ถึงทรัมป์จะบอกว่า กำแพงที่จะสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายบริเวณชายแดนระหว่างเม็กซิโกและสหรัฐฯ จะเป็นกำแพงที่ออกแบบอย่างสวยงาม แต่ดูเหมือนว่าชาวรัฐอริโซนา ซึ่งเป็นรัฐที่มีพรมแดนติดกับเม็กซิโกจำนวนไม่น้อยจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ ไม่ต้องพูดถึงคนเม็กซิกันเองที่ไม่พอใจกับนโยบายนี้แน่ๆ เพราะทรัมป์ประกาศชัดเจนว่าฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสร้างกำแพงนี้ก็คือเม็กซิโก ไม่ใช่สหรัฐฯ
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ด้วยว่า กำแพงอันสวยงามของทรัมป์อาจจะมีช่องโหว่ยาวถึง 75 ไมล์ เพราะกลุ่มชาวพื้นเมืองอเมริกันที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนนั้นยืนยันเสียงแข็งว่าจะต่อต้านการสร้างกำแพงของทรัมป์อย่างเต็มกำลัง
          3.อเมริกาต้องมาก่อน
          ทรัมป์เคยประกาศไว้ตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมาแล้วว่า ถ้าเขาชนะการเลือกตั้ง สัญญาที่เคยปกป้องประเทศในกลุ่มสมาชิกนาโต้ในกรณีที่ประเทศเหล่านี้โดนโจมตีก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป และจะช่วยเหลือในกรณีที่ประเทศสมาชิกทำตามพันธสัญญาที่ให้ไว้กับสหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าคงไม่ใช่นโยบายที่ประเทศในกลุ่มนาโต้จะยิ้มรับอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่เขาบอกว่าจะถอนกำลังทหารออกจากยุโรปและเอเชียถ้าประเทศพันธมิตรไม่ให้ความสำคัญกับการปกป้องอเมริกา



          4.อเมริกาจะรวยขึ้น แต่โลกจะร้อนต่อไป
          มีแนวโน้มว่าทรัมป์อาจยกเลิกการจ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ UN เพื่อสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนำเงินส่วนนั้นมาใช้ในการพัฒนาโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศแทน ทั้งยังมีแผนที่จะยกเลิกกฎเกณฑ์และข้อบังคับบางอย่างเพื่อทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของอเมริกาขยายตัวได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างหวาดกลัวกันอย่างมาก
          5.เงินบาทของเราจะแลกเงินดอลลาร์ได้เพิ่มขึ้น
          นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ถ้าทรัมป์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลง ตรงกันข้ามกับกรณีที่คลินตันชนะ เพราะในสายตาของนักลงทุนส่วนใหญ่แล้ว ทรัมป์เป็นผู้นำที่สุดโต่ง ขาดประสบการณ์ และคาดเดาทิศทางในการตัดสินใจได้ยาก ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อการลงทุนและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอเมริกาอย่างแน่นอน
          และเรื่องค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงนี้เกิดขึ้นแล้วทั้งที่ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการยังไม่ออกมา เพราะค่าการซื้อ-ขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ล่าสุดตอนนี้ ลดลง 3.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินเยน โดยตกลงจาก 1 ดอลลาร์ต่อ 105.480 เยน ในตอนปิดตลาดช่วงเย็นวันที่ 8 พ.ย. เหลือ 101.890 เยน หลังปิดตลาดช่วงเช้าของวันที่ 9 พ.ย.

ที่มา: http://news.sanook.com/2098630/

นโยบายสุดอึ้ง! โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่


          ทิศทางต่างๆ ของสหรัฐอเมริกากำลังจะเปลี่ยนอีกครั้ง หลังผลการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาครั้งล่าสุด ผลคะแนนส่วนใหญ่ต่างเทคะแนนให้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน มีชัยเหนือ นางฮิลลารี คลินตันพรรคเดโมแครต อย่างไม่เป็นทางการ กลายเป็นสิ่งน่าประหลาดใจของโลกอีกครั้งหนึ่ง
          นายโดนัลด์ ทรัมป์ กับการก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 45 สร้างความแปลกใจและหวั่นใจให้กับชาวโลกไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากการขึ้นเป็นผู้นำของเขา แม้จะเป็นสิ่งที่ท้าทายและแปลกใหม่ แต่สังคมก็ยังมีความไม่มั่นใจในตัวเขาอยู่สูงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการบริหารและทิศทางทางการเมืองที่ต่างวิเคราะห์ว่า..ไร้ประสบการณ์
          ที่ผ่านมา นายทรัมป์ มีถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของเขาเสมอ เนื่องจากว่าเขาคือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในแผ่นดินสหรัฐอเมริกา เขาไม่เคยมีประสบการณ์ในเส้นทางการเมืองมาก่อน ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกวุฒิสภา แต่ขึ้นมาเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้แบบก้าวกระโดด
          นโยบายบริหารและการเมืองแบบสุดโต่งของ โดนัลด์ ทรัมป์ มักเป็นที่สนใจทุกครั้งและมักตกเป็นข่าว อื้อฉาวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะนโยบายละเอียดอ่อนเกี่ยวกับผู้อพยพ นายทรัมป์ เคยประกาศสร้างกำแพงกั้นพรมแดงระหว่างสหรัฐฯ กับเม็กซิโก เพื่อตัดช่องทางของผู้ลักลอบเข้าเมือง
          อีกทั้งยังมีแผนจะให้เม็กซิโกต้องชำระจ่ายเงินทั้งหมด เนื่องจากเชื่อว่ารัฐบาลเม็กซิโกรู้เห็นเป็นใจให้พลเมืองตัวเองแอบเข้ามาหากินในแผ่นดินสหรัฐ นายทรัมป์ ยังประกาศกร้าวว่า หากพบผู้อพยพก่อคดีในสหรัฐฯ จะบังคับให้ส่งตัวกลับประเทศทันที และเพิ่มบทลงโทษเข้มงวดสำหรับผู้ที่อยู่สหรัฐฯ เกิดกำหนดในวีซ่า พร้อมกับมีแนวคิดไม่ให้ชาวมุสลิมเข้าสหรัฐฯ ด้วย
          เพราะนโยบายนี้เอง ทำให้ นายทรัมป์ ต่างได้ใจชาวอเมริกันผิวขาวส่วนใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับโพลสำรวจผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งที่พบว่า เกินกว่าร้อยละ 52 ต่างลงคะแนนให้ นายทรัมป์ แต่ขณะที่ชาวอเมริกันเชื้อสายลาติน หรือ ฮิสแปนิก ที่ไม่พอใจกับนโยบายนี้ ต่างเทคะแนนให้ นางคลินตัน กว่าร้อยละ 70
          ขณะที่นโยบายบริหารเศรษฐกิจของนายทรัมป์ ที่เคยลั่นวาจาอย่างหนักแน่น ทำให้สื่อวิเคราะห์ว่า สหรัฐฯ อาจจะกลับไปเหมือนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บริหารโดดเดี่ยว ไม่พึ่งพาใคร นำการลงทุนจากต่างประเทศกลับมาประเทศตัวเอง เพื่อสร้างงานให้คนในประเทศ
          ทั้งนี้ นายทรัมป์ ยังประกาศลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 15% จากเดิม 35% กลายเป็นนโยบายที่ทำให้ได้ใจผู้คน แต่ความเสี่ยงหลักๆ เรื่องการตัดขาดทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกีดกันสินค้าจากประเทศจีน เป็นสิ่งที่เด็ดเดี่ยวของเขา เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากยังต้องพึ่งพากำลังการผลิตจากจีนอยู่มาก
          หากมองถึงนโยบายบริหารภายในประเทศของนายทรัมป์ เขาตั้งใจจะลดสถิติอาชญากรรมในประเทศให้ได้ หลังจากระยะหลังๆ มักเกิดกรณีความขัดแย้งระหว่างตำรวจกับคนผิวสีหลายครั้ง พร้อมฟื้นเอาบทลงโทษการประหารชีวิตผู้ต้องหากลับมา ส่วนปัญหาอัตราการว่างงานและสวัสดิการของรัฐบาลต่างๆ ที่จะยกเลิกกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายเก่าของ บารัค โอบามา โดยเฉพาะประกันสุขภาพที่เป็นปัญหาเรื้อรังที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนจ่ายเอง รักษาเอง
          ปิดท้ายด้วยนโยบายเรื่องกลุ่มก่อการร้าย นายทรัมป์ วางแผนใช้วิธีเจรจาและแทรกแซงเข้าปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย เนื่องจากเขามองเห็นว่า ประเทศลิเบีย ล่มสลายเพราะการไม่เข้าไปแทรกแซงช่วยเหลือ เขาต้องการจะเข้าไปเจรจากับประเทศอิหร่าน ทำข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์ และร่วมมือกันถล่มกลุ่มไอซิสให้หมดไป รวมทั้งจะไม่ให้สหรัฐฯ ร่วมปฏิบัตินาโต ถ้าประเทศในสมาชิกไม่ช่วยลงขันด้วย


ที่มา: http://news.sanook.com/2098610/